คำว่า "สุนทรียศาสตตร์" มาจากคำในภาษาสันสกฤษว่า "สุนทรียะ" ซึ่งแปลว่า "ความงาม" กับคำว่า "ศาสตร์" ซึ่งแปลว่า "วิชา" ดังนั้นเมื่อนำมารวมกันแล้วจึงได้ความหมายว่า "วิชาที่ว่าด้วยความงาม" นั่นเอง
Aesthetica (1750)
by Alexander Gottlieb Baumgarten
|
นักปรัชญาชื่อ Alexander Gottlieb Baumgarten ได้เขียนหนังสือชื่อ "Aesthetica" เมื่อปี 1750 หนังสือเล่มนี้ได้พูดถึง ความแตกต่างระหว่างความรู้ทางผัสสะ (ความรู้ที่เกิดจากประสาทสัมผัส) และความรู้ที่เป็นเหตุผลตามนัยแห่งตรรกวิทยา จึงขาดรายละเอียดในด้านศิลปะและความงาม แต่นักปรัชญาโดยทั่วไปก็ยกย่องให้เขาเป็นคนแรกที่เริ่มใช้คำว่า "Aesthetica หรือ Aesthetic" แต่ถ้าเราศึกษาปรัชญาในยุคกรีกโบราณนั้นเราจะพบว่า มีการใช้คำว่า "Aisthetikos" แปลว่า "รู้ด้วยผัสสะ" มาก่อนแล้ว ซึ่ง Baumgarten ได้หยิบยืมมาใช้อีกที นับตั้งแต่นั้นเป็นต้นมาคำว่า "Aesthetics" จึงถูกใช้เมื่อมีการวิเคราะห์ถึงปัญหาเกี่ยวกับศิลปะและความงาม
หลังจากนั้นเป็นต้นมาก็มีนักปรัชญามากมายเริ่มศึกษาสุนทรีศาสตร์กันอย่างจริงจัง และมีนักปรัชญาได้ให้ทัศนะเกี่ยวกับสุนทรียศาสตร์ไว้น่าสนใจหลายคน ตัวย่างเช่น
Tatakiewictz นักปรัชญาศิลปะชาวโปแลนด์ ได้ให้ทัศนะเกี่ยวกับความหมายของสุนทรียศาสตร์ไว้ว่า สุนทรียศาสตร์เป็นศาสตร์ที่มีความหมายรวมอยู่ในเรื่องของความงามและการรับรู้ ซึ่งต่างจากของ Immanuel Kant ที่เชื่อว่าสุนทรียศาสตร์เป็นความรู้ที่เป็นจริงในตัวเอง ไม่ขึ้นกับประสบการณ์และการรับรู้ แต่มีความสัมพันธ์กับความพึงพอใจและความเจ็บปวด ทัศนะของค้านท์บอกว่าสุนทรียศาสตร์ไม่เกี่ยวกับการทำงานของสมองในส่วนที่ทำหน้าที่ตัดสินใจ ส่วนนักปรัชญา Santayana บอกว่าสุนทรียศาสตร์เป็นศาสตร์แห่งความรู้สึก ซึ่งรวมถึงฝ่ายสุขและฝ่ายทุกข์ ทัศนะนี้เป็นที่ยอมรับกันมาก เพราะไม่ได้เน้นในเรื่องของความงามของศิลปะเพียงอย่างเดียว แต่มองไปไกลถึงความรู้ต่างๆที่เกี่ยวข้องกับความรู้สึกทั้งฝ่ายดีและฝ่ายร้าย หรือฝ่ายสุขและฝ่ายทุกข์นั่นเอง
เราคงพอจะเห็นแล้วว่าการศึกษาสุนทรียศาสตร์นั้นไม่ได้ศึกษาความงามเท่านั้น เพราะเราไม่สามารถตัดสินความงามมาตรฐานให้แน่นอนได้ และความงามก็ไม่ใช่สิ่งที่มีอยู่ในศิลปะเท่านั้น ถึงแม้ว่ามันจะสามารถนำเราไปสู่การค้นคว้าทางศิลปะก็ตาม ดังนั้น ศิลปะจึงไม่ใช่สิ่งที่เกี่ยวข้องกับความงามเสมอไป
Animagus
...................................................................................................................................................................อ้างอิง
- กำจร สุนพงษ์ศรี. สุนทรียศาสตร์. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงการณ์มหาวิทยาลัย, 2555
- วนิดา ขำเขียว,ผศ.. สุนทรียศาสตร์. กรุงเทพฯ : พรานนกการพิมพ์, 2543
- ........... . เอกสารการสอนชุดวิชา ทฤษฎีและการวิจารณ์ภาพยนตร์เบื้องต้น มหาวิทยาลัยสุโขทัยรรมาธิราช. สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.พิมพ์ครั้งที่ 1, 2548
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น