Translate

วันจันทร์ที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2556

FM101 Introduction to Film : การศึกษาภาพยนตร์....



...การศึกษาภาพยนตร์....

     การศึกษาภาพยนตร์ในยุคปัจจุบันนั้นเปิดกว้างอย่างมาก นับตั้งแต่ที่ Film School แห่งแรกของโลกถือกำเนิดขึ้นในชื่อ Gerasimov Institute of Cinematography ที่ประเทศรัสเซีย ในปี ค.ศ. 1919 นับเป็นการเปิดให้ทั่วโลกได้มีการศึกษาศิลปะแขนงนี้อย่างเป็นทางการ

Gerasimov Institute of Cinematography aka VGIK, is a film school in MoscowRussia

     ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมาโรงเรียนสอนภาพยนตร์ต่างๆก็ถือกำเนิดขึ้นอย่างมากมายทั่วทุกมุมโลกไม่เว้นแม้แต่ในประเทศไทยของเรา ซึ่งในปัจจุบันมีเปิดสอนทั้งมหาวิทยาลัยของรัฐและเอกชน ผลิตบุคคลากรในสายงานภาพยนตร์ขึ้นมามากมาย รายวิชาก็มีตั้งแต่ ภาพยนตร์เบื้องต้น , สุนทรียศาสตร์ภาพยนตร์ , เขียนบท , กำกับภาพ , การแสดง , การตัดต่อ , ทฤษฎีภาพยนตร์ , ประวัติศาสตร์ภาพยนตร์ และอื่นๆอีกมากมายตามที่มหาวิทยาลัยต่างๆจะเห็นสมควรให้นักศึกษาได้มีโอกาสมาร่ำเรียนกัน
การผลิตภาพยนต์ขั้นสูง
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช 

แต่ปัญหาใหญ่ของการศึกษาภาพยนตร์ในประเทศไทยนั้นหาใช่เรื่องบุคคลากร แต่กลับเป็นเรื่องของตำราหรือหนังสือเรียนที่นักศึกษาจะใช้ในการเรียนการสอน อาจารย์สอนภาพยนตร์หลายท่านรู้สึกว่าตำราเรียนเป็นเรื่องที่ไม่สำคัญ เนื่องจากนักศึกษาไทยในยุคปัจจุบันนั้นหลายคนต่างซื้อหนังสือเพื่อประดับบารมีของการเป็นนักศึกษา หาใช่ซื้อเพื่อการศึกษาอย่างแท้จริง ดังนั้นอาจารย์ส่วนใหญ่จึงเลือกที่จะไม่เขียนหรือผลิตหนังสือ อีกทั้งภาระหน้าที่ในการทำงานในมหาวิทยาลัยก็มากมายจนไม่มีเวลาที่จะให้อาจารย์ได้ศึกษาหาความรู้เพิ่มเติม หรือแม้แต่กระทั่งทำเอกสารประกอบการสอน ตำราเรียนส่วนใหญ่ที่เราเห็นกันส่วนมากก็เป็นตำราเล่มเก่าที่ถูกเขียนขึ้นหลายสิบปี หรือเป็นตำราภาษาอังกฤษที่นักศึกษาไทยที่มีความชำนาญทางด้านภาษาอังกฤษ(อย่างมาก)หามาอ่านซึ่งถูกบรรจุอยู่ในห้องสมุด

นอกจากนี้ ปัญหาของการศึกษา(ไม่ใช่แม้แต่ศึกษาภาพยนตร์) คือนักศึกษาส่วนใหญ่ไม่รู้ถึงความสำคัญของรายวิชาต่างๆที่ถูกให้เรียน ยกตัวอย่างเช่น นักเรียนภาพยนตร์ที่อยากจะทำงานในอุตสาหกรรมภาพยนตร์จริงๆ รู้สึกว่า "ทำไมกูต้องมานั่นเรียนวิชาประวัติศาสตร์ภาพยนตร์หรือวิชาทฤษฎีและการวิจารณ์ภาพยนตร์วะ?" มันสะท้อนให้เห็นถึงความล้มเหลวในการพยายามสร้างบุคคลากรที่ทำงานเป็น(ในอุตสาหกรรม)และรู้จักตัวตนของงาน(ภาพยนตร์)จริงๆ เราจึงมีแต่นักศึกษาหรือบุคคลากรที่ทำงานเป็น แต่ส่วนใหญ่ไม่รู้จักความเป็นภาพยนตร์อย่างถ่องแท้นั่นเอง



ดังนั้นจึงจำเป็นที่เราจะต้องหันกลับมามองการศึกษาภาพยนตร์กันอย่างจริงๆจังๆว่า
"แท้จริงแล้วเรากำลังต้องการอะไรจากการศึกษาภาพยนตร์กันแน่?"
Understanding the Film By Ron Johnson & Jan Bone
"เราศึกษาภาพยนตร์ไปเพื่ออะไร?"
"แล้วเรารู้จักภาพยนตร์แล้วจริงหรือ?"

จากเหตุผลทั้งหมดทั้งมวลคือ นอกจากที่เราจะศึกษาภาพยนตร์กันในแง่ของเทคโนโลยีสมัยใหม่ที่เรียนรู้เพื่อตอบสนองความต้องการทางอารมณ์ของผู้บริโภคเพียงอย่างเดียว เราควรตระหนักถึงความสำคัญของประวัติศาสตร์ความเป็นมาของภาพยนตร์ สุนทรียศาสตร์ในงานภาพยนตร์ ทฤษฎีภาพยนตร์ที่มีอยู่มากมาย และการวิจารณ์ภาพยนตร์อีกด้วย เพื่อให้มีความรู้ความเชี่ยวชาญในศาสตร์ที่ตนเองศึกษาอย่างถ่องแท้







~ Animagus ~

...................................................................................................................................................................
อ้างอิง
  • http://en.wikipedia.org/wiki/Gerasimov_Institute_of_Cinematography
  • http://www.amazon.com/Understanding-Film-Ron-Johnson/dp/0844256951
  • http://topicstock.pantip.com/chalermthai/topicstock/A3593533/A3593533.html

3 ความคิดเห็น:

  1. เห็นด้วยอย่างยิ่งว่าแท้จริงแล้วเราต้องการอะไรจากการศึกษาภาพยนตร์กันแน่
    และเด็กภาพยนตร์ส่วนใหญ่มักละเลยการหาข้อมูลทางทฤษฎีเพื่มเติม อยากที่จะลงมือปฏิบัติเพียงอย่างเดียว ซึ่งอาจเป็นที่ไม่ส่งผลดีสักเท่าไหร่
    ขอบคุณข้อมูลดีๆจากบล็อกนี้ค่ะ มีการแนะนำหนังสือให้ด้วย จะคอยติดตามตอนต่อไป . . . .

    ตอบลบ
  2. ใช่แล้วครับผม เราควรศึกษาความเป็นมาของคำว่าภาพยนตร์เพื่อรู้จักมันอย่างถ่องแท้
    ขอบคุณข้อมูลดีๆครับผม ;D

    ตอบลบ