Translate

วันจันทร์ที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2556

FM101 Introduction to Film : Film Genre 4 Classical Cinema พลังแห่งการเร้าอารมณ์

Film Genre ตอนที่ 4 Classical Cinema พลังแห่งการเร้าอารมณ์

Star Wars: Episode III - Revenge of the Sith (2005)  by George Lucas
เมื่อถึงยุคหนึ่งที่ภาพยนตร์ไม่ได้เป็นเพียงเทคโนโลยีในการบันทึกภาพหรือเป็นเพียงแค่ศิลปะ ภาพยนตร์พัฒนาไปไกลจนกลายเป็นอุตสาหกรรมสื่อบันเทิงที่พยายามจะตอบสนองความต้องการของผู้ชม มันทำให้ผู้สร้างต้องคิดหาวิธีใหม่ๆในการนำเสนอ ในยุคแรกๆนั้นมีภาพยนตร์เรื่องหนึ่งที่ถือได้ว่าใช้กลวิธีแปลกใหม่ในการเล่าเรื่องได้อย่างน่าสนใจ นั้นคือ The Great Train Robbery (1903) โดยผู้กำกับที่ชื่อว่า Edwin S. Porter ภาพยนตร์เรื่องนี้เป็นภาพยนตร์เล่าเรื่องราว แต่ไม่ใช่หนังเล่าเรื่องเรื่องแรกในประวัติศาสตร์ภาพยนตร์โลก เนื้อหาของเรื่องนี้คือ มีโจร 4 คนดักปล้นรถไฟและยิงผู้โดยสารตายไปคนหนึ่ง แต่แล้วในที่สุดพวกโจรก็ถูกยิงตายเมื่อเหล่านายอำเภอตามไปจับไว้ได้ทัน

The Great Train Robbery (1903) by Edwin S. Porter
ภาพยนตร์เรื่องนี้ใช้เทคนิคการผลิตที่โดดเด่นมาก คือ การตัดสลับภาพไปมาของเหตุการณ์ อีกทั้งยังเล่าเรื่องได้น่าสนใจ ถือได้ว่าเป็นหนังเล่าเรื่องราวที่เหตุการณ์ของเรื่องดำนเนิไปตามความสัมพันธ์ของเวลา สถานที่ และตามหลักเหตุผล ซึ่งนี่คือวิถีทางแบบ Classical Cinema

ภาพยนตร์แบบ Calssical Cinema เป็นรูปแบบภาพยนตร์ที่เราเห็นกันอยู่มากที่สุดในทุกวันนี้ เป็นภาพยนตร์ที่สร้างมาเพื่อความบันเทิงเป็นเหตุผลหลักและสาระคือสิ่งที่ซ่อนอยู่ รูปแบบของภาพยนตร์ในประเภทนี้จะต้องมีการเร้าอารมณ์ สร้างให้คนดูมีอารมณ์ร่วมกับสิ่งที่ภาพยนตร์นำเสนอและพาคนดูเข้าไปสู่แก่นของเรื่องได้อย่างมีพลังโดยผ่านการเล่าเรื่องที่มีรูปแบบและโครงสร้างชัดเจน

Paranormal activity

อย่างที่บอกไปแล้วว่าภาพยนตร์ทุกเรื่องที่เราได้ดูกันมักจะอยู่ในกลุ่มนี้ แต่อาจจะมีการหยิบยืมวิธีการของภาพยนตร์รูปแบบอื่นๆไปร่วมใช้บ้าง เช่น การนำรูปแบบ Realism เข้าไปใช้ เราเลยไ้ด้หนังกลุ่มเรียลลิตี้ฟิล์มมาแบบ Blairwitch project (1999) หรือ Clover field (2008) หรือ Paranormal activity ที่จับเอาแนวทาง Realisim มารับใช้การเล่าเรื่องอย่างได้ผล

หรือการใช้รูปแบบ Formalism ก็มีมากมาย อย่างเช่น What dream may come (1998) หรือ The cell (2000) และ The fall (2006) ซึ่งเป็นที่ฮือฮามากกันอยู่ช่วงหนึ่ง

The fall (2006) by Tarsem Singh
หรืออาจะใช้รูปแบบของภาพยนตร์ทั้ง Realism และ Formalism ผสมปนเปไปตลอดทั้งเรื่องเพื่อใช้ในการเล่าเรื่องอย่างภาพยนตร์ระดับตำนานเรื่อง Citizen Kane (1941) ก็เป็นได้

Citizen Kane (1941) by Orson Welles

แต่ไม่ว่าจะหยิบยืมรูปแบบของการเล่าเรื่องแบบไหนก็ตาม ที่เห็นได้ชัดคือ ภาพยนตร์ในรูปแบบนี้ไม่ว่าจะหยิบยืมรูปแบบอื่นๆมาใช้ มันก็จะอยู่ในรูปแบบของการเล่าเรื่องแบบเร้าอารมณ์ มีตัวละครที่จับต้องได้ มีเส้นเรื่อง มีการพัฒนาเรื่องและคลี่คลายตามรูปแบบของ Classical cinema อยู่ดี

Animagus
...................................................................................................................................................................
อ้างอิง
  • ประวิทย์ แต่งอังกษร. มาทำหนังกันเถอะ. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์ Bioscope. พิมพ์ครั้งที่ 3, 2556
  • ........... . เอกสารการสอนชุดวิชา ทฤษฎีและการวิจารณ์ภาพยนตร์เบื้องต้น มหาวิทยาลัยสุโขทัยรรมาธิราช. สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.พิมพ์ครั้งที่ 1, 2548
  • http://www.thaidfilm.com/simple/?t12745.html
  • http://korakot-jairak.com/images/ptt/exper_video_ptt/week4.pdf
  • http://www.scribd.com/doc/14123261/3Motion-Pictures

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น